ต้นทุนเครื่องมือต่างๆ ที่ต้องใช้สำหรับการทำ SEO เว็บสายเทามีอะไรบ้าง

จะทำเว็บ หรือทำ SEO ให้ออกมาดี คุณต้องเลือกใช้เครื่องมือที่ดีตั้งแต่แรก จะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องการปรับแต่งทางเทคนิค ไม่ว่าจะเป็นด้านความเร็วเว็บ หรือด้านทางเทคนิค จุดอื่นๆ

เครื่องมือต่างๆ ที่ผมแนะนำให้ใช้มีดังนั้น

โปรแกรม SEO ต่างๆ

  1. Ubersuggest (จำเป็น)
    เป็นโปรแกรมเอาไว้เช็ค keyword ต้นทุนเครื่องนี้ อยู่ที่ 120Us (ประมาณ 4000 บาท) ซื้อทีเดียวจบ ไม่ต้องเสียค่าต่ออายุรายปี ให้ซื้อแพคเกจ lifetime Individual
  2. Ahrefs (ไม่จำเป็น ยกเว้นว่าไม่ซีเรียจเรื่องค่าใช้จ่าย)
    จุดเด่นของโปรแกรมนี้เอาไว้ดู Backlink เป็นหลัก ซึ่งจะดูได้ละเอียดกว่าโปรแกรมตัวอื่นๆ แต่ค่าใช้งานโปรแกรมนี้ค่อนข้างแพง เริ่มต้นอยู่ที่ 99us (3500 บาท ต่อเดือน) ถ้างบถึงก็จัดไป ถ้างบน้อย ยังไม่ต้องใช้ก็ได้
  3. Google Ads (จำเป็น)
    จะทำ SEO สายเทาจริงจัง ต้องมีบัญชี Google ads แต่บัญชีนี้เราจะไม่ได้เอาไว้ใช้ยิงโฆษณาสายเทานะ แต่เราต้องมีแคมเปญลงโฆษณาคำที่เป็น keyword สายขาว ลงทิ้งไว้ 1 ตัว เพื่อจะได้เอาไว้ใช้ฟังชั่น Keyword planer ซึ่งมีต้นทุนการลงโฆษณาคือเดือนละ 1000 บาท

โฮสติ้งคุณภาพสูง

ทำเว็บสายเทาแน่นอนคุณต้องใช้โฮสต่างๆ ประเทศ ซึ่งมีอยู่มากมาย แต่ถ้าใครพึ่งเริ่มต้นเลย แนะนำให้ใช้โฮส 3 เจ้านี้ครับ

  1. Siteground
    ถ้าไม่เก่งเลยแนะนำเจ้านี้ เพราะผมใช้เจ้านี้อยู่ ผมจะได้สอนการใช้งานแบบละเอียดได้ แต่ถ้าจะทำจริงจัง ต้องเลือกแพคเกจที่เป็น cloud hosting นะ มีค่าใช้จ่ายเดือนละ 100us ครับ เราซื้อโฮสเดียว ใส่หลายเว็บได้
  2. Cloudway
    เป็น cloud hosting อีกนึงเจ้าที่แนะนำ ต้นทุนอยู่ที่เดือนละ 100us โดยประมาณ ถ้าทีมงานใช้งานเป็นอยู่แล้ว ก็ใช้งานได้เลย แต่ถ้าในทีม ไม่มีคนเก่งๆ ให้ไปใช้โฮส sitegroud ตามผมนะ
  3. Digital ocean
    โฮสที่บรรดามือโปร หรือสายงานโปรแกรมเมอร์นิยมใช้ เพราะสามารถตั้งค่าทุกอย่างได้เองทุกจุด เหมาะสำหรับเว็บใหญ่ๆ แต่แน่นอนก็จะมีค่าใช้จ่ายที่สูง ดังนั้น ถ้าผู้เริ่มต้น อาจจะยังไม่จำเป็นครับ

เครื่องมือเกี่ยวกับ WordPress

จุดต่อมาที่ส่งผลต่อด้าน performance เช่นเดียวกับการเลือกโฮส คือ ธีมที่คุณเลือกใช้ เพราะบนโลกใบนี้นั้นมีธีม WordPress อยู่มากมาย มีทั้งธีมที่ดีและธีมที่ไม่ดี

องค์ประกอบของธีมที่ดี

  • ใช้งานง่าย
  • มีความยืดหยุ่น
  • มีคนใช้งานเยอะ
  • โหลดเร็ว (ธีมที่เบา)

และการใช้ธีม มักจะมาคู่กับการใช้งาน Page builder เสมอ เพื่อประสิทธิภายในด้านการออกแบบความสวยงาน นั้นแปลว่า คุณต้องรู้วิธีการจับคู่ ระหว่างธีม กับ Page builder ต่างๆ ด้วย

จากประสบการณ์ของผมที่ลองผิด ลองถูก กับการเลือกธีมมากมาย ผมจึงได้ข้อสรุปว่าธีมไหน ใช้กับ Page builder ตัวไหนแล้วมีประสิทธิภาพดีที่สุด ตามนี้เลย

  • ธีม flatsome (มี page builder ในตัว)
  • ธีม astra + elementor (page builder)
  • ธีม hello + elementor (page builder)
  • ธีม generatepress + generateblocks (page builder)
  • ธีม seedtheme + generateblocks (page builder)

ปลักอินอื่นๆ ที่จำเป็น

  • Wp Rocket (จำเป็น)
    เอาไว้ใช้ปรับความเร็วเว็บ WordPress ต้นทุนปีละ 59us ต่อ 1 เว็บ
  • Imagify
    ปลั๊กอินเอาไว้ย่อขนาดไฟล์รูป และแปลงรูปเป็น webp ต้นทุนปีละ 49us ต่อปี แต่ซื้อทีเดียวใส่หลายเว็บได้
  • Yoast SEO ฟรี
  • redirection ฟรี
  • Cloudflare ฟรี
  • All in one wp migration ต้นทุน 69 us ซื้อครั้งเดียวไม่ต้องต่ออายุ ใส่หลายเว็บได้ เอาไว้ย้ายเว็บไซต์ไปมาก จำเป็นต้องใช้

สรุป

ด้านเครื่องมือสร้างเว็บ ถ้าไม่เก่ง หรือพึ่งเริ่มต้น ให้มาใช้เครื่องมือตามผม ดังนี้

  • โฮสติ้งใช้ sitegroud
  • ธีมใช้ Flatsome
  • ปลั๊กอิน SEO ใช้ Yoast

แล้วที่เหลือมันจะง่ายเอง แค่ไปตั้งค่าต่างๆ ตามที่ผมสอนนั้นเอง

ส่วนวิธีการใช้งานเครื่อง SEO แต่ละตัว เดี๋ยวในบทความต่างๆ จะมีคำแนะนำการใช้งานแบบละเอียดเตรียมไว้ให้ครับ บทเรียนนี้แค่ให้ทุกคนเห็นภาพรวมต้นทุนเครื่องมือต่างๆ เบื้องต้นก่อนครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *